การเเสดงพื้นเมืองภาคเหนือ
เป็นลักษณะศิลปะที่มีการผสมผสานกันระหว่างชนพื้นเมืองชาติต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นไทยล้านนา ไทยใหญ่เงี้ยว รวามถึงพวกพม่าที่เคยเข้ามาปกครองล้านนาไทย ทำให้นาฏศิลป์หรือการเเสดงที่เกิดขึ้นในภาคเหนือมีความหลากหลาย เเต่ยังคงมีเอกลักษณ์เฉพาะที่ เเสดงถึงความนุ่มนวลของท่วงท่า
การเเสดงหรือการละเล่น ที่เกิดขึ้นจึงเป็นไปในลักษณะที่สนุกสนานหรือเป็นการร้องเกี้ยวพาราสีกัน เช่น เพลงเรือ เพลงเกี่ยวข้าวหรือเป็นการเเสดงพื้นเมืองที่สื่อ ให้เห็นการประกอบอาชีพ
เเสดงให้เห็นถึงพฤติกรรมของชนพื้นเมืองกับสภาพชีวิตความเป็นอยู่การเเสดงพื้นเมืองภาคอีสาน จะมีทั้งการเเสดงที่เป็นเเบบดั้งเดิมที่มีการสืบทอดกันมา เเละการเเสดงที่เกิดขึ้นในเเต่ละท้องถิ่นเป็นไปตามความถนัดหรือความสามารถของเเต่่ละคนโดยไม่มีระเบียบเเบบเเผนความสนุกสนานรื่นเริง
การเเสดงพื้นเมืองภาคใต้
มีลักษณะที่เป็นเครื่องบันเทิงในพิธีกรรม เเละพิธีชาวบ้านรวมทั้งงานรื่นเริงที่เป็น เอกลักษณ์เฉพาะ คือมีจังหวะที่เร่งเร้ากระฉับกระเฉง เเละเน้นจังหวะมากกว่าท่วงทำนอง โดยมีลักษณะที่เด่นชัดของเครื่องดนตรีประเภทเครื่องตี ให้จังหวะเป็นสำคัญ ส่วนลีลาท่ารำจะมีความคล่องเเคล่วว่องไว